ภาษาพีเอชพี PHP | rampagesoft รับทำเว็บไซค์ รับออกแบบเว็บไซต์

บทความ : ภาษาพีเอชพี PHP

ภาษาพีเอชพี PHP บทความ ข่าวสาร rampagesoft

ภาษาพีเอชพี PHP

ภาษาพีเอชพี PHP มาจาก PHP/ Hypertext Preprocessor 

คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ แบบ Open Source ที่ใช่กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งใช้ในการจัดทำเว็บ และสามารถประมวลผลออกมาเป็นรูปแบบ HTML โครงสร้างคำสั่งของ PHP นั้นมีรากฐานมาจากภาษา C Java และ Perl ซึ่ง ภาษา PHP นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ เป้าหมายหลักของภาษาคอมพิวเตอร์นี้ คือ เพื่อให้นักพัฒนาเว็บไซท์สามารถเขียน เว็บเพจ Web Page ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว แต่มิใช่เพียงแค่นั้น สามารถทำอื่นๆ อีกมากมายด้วยภาษา PHP


ประวัติความเป็นมาของ พีเอชพี PHP

• PHP เป็นภาษาจำพวก Scripting Language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ script และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่าง ของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น

• ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนา และออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรก หรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า Server Side หรือ HTML Embedded Scripting Language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีลูกเล่นมากขึ้น

• หากใครรู้จัก Server Side Include (SSI) ก็จะสามารถเข้าใจการทำงานของ PHP ได้ไม่ยาก สมมุติว่าเราต้องการจะแสดงวันเวลาปัจจุบันที่ ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์ในขณะนั้น ในตำแหน่ง ใดตำแหน่งหนึ่งภายในเอกสาร HTML ที่เราต้องการ อาจจะใช้คำสั่งในรูปแบบนี้ เช่น ไว้ในเอกสาร HTML เมื่อ SSI ของ Web Server มาพบคำสั่งนี้ ก็จะกระทำคำสั่ง date.pl ซึ่งในกรณีนิ้ เป็นสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา perl สำหรับอ่านเวลาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วใส่ ค่าเวลาเป็นเอาพุท Output และแทนที่คำสั่งดังกล่าว ลงในเอกสาร HTML โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้อ่านอีกทีหนึ่ง

• PHP ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อแทนที่ SSI รูปแบบเดิมๆ โดยให้มีความสามารถ และมีส่วนเชื่อมต่อกับเครื่องมือชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ติดต่อกับคลังข้อมูล หรือ Database เป็นต้น PHP ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1994 จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อมาตามลำดับ เป็นเวอร์ชั่น 1 ในปี 1995 เวอร์ชั่น 2 (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 และเวอร์ชั่น 3 ช่วง 1997 ถึง 1999 จนถึงเวอร์ชั่น 4 หรือ ในปัจจุบัน PHP เป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของนักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource

ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Webserver ระบบปฏิบัติอย่าง เช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลายๆตัวบนระบบปฏิบัติการอย่าง เช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น

 

PHP 8 ฟีเจอร์ใหม่ที่พลิกโฉมการพัฒนาเว็บ

ในปี 2025 ภาษา PHP ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดย PHP 8 ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเว็บที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ฟีเจอร์เด่นใน PHP 8 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความง่ายดายในการเขียนโค้ด โดยเฉพาะในด้านการจัดการโครงสร้างและประสิทธิภาพการทำงาน :

• JIT Compilation (Just-In-Time) : PHP 8 ใช้ JIT เพื่อเพิ่มความเร็วในการประมวลผล โดยเฉพาะสำหรับงานที่มีการคำนวณหนักหรือซับซ้อน เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับ Machine Learning หรือ Data Analytics
• Attributes : เพิ่มความสามารถให้ผู้พัฒนาเพิ่มเมตาดาต้าในโค้ดผ่าน Attribute Syntax ซึ่งช่วยให้สามารถใช้กับ Frameworks สมัยใหม่ได้ง่ายขึ้น
• Union Types : ช่วยให้กำหนดประเภทข้อมูลที่หลากหลายในตัวแปรเดียว เพิ่มความยืดหยุ่นในการเขียนโค้ด
• Match Expressions : ทำให้การเขียนเงื่อนไขที่ซับซ้อนง่ายขึ้น โดยลดการพึ่งพา switch หรือ if-else ที่ยาวเกินไป
• Named Arguments: ช่วยให้สามารถกำหนดค่าพารามิเตอร์ในฟังก์ชันได้โดยระบุชื่อของพารามิเตอร์ เพิ่มความชัดเจนในการเขียนโค้ด


แนวโน้มการพัฒนาภาษา PHP หลังจากนี้ 

PHP จะไม่หยุดอยู่แค่การเป็น "ภาษาในการพัฒนาเว็บ" แต่กำลังขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ใหม่

• รองรับสถาปัตยกรรม Microservices : PHP กำลังถูกปรับปรุงให้เหมาะสมกับการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Microservices เพื่อรองรับระบบที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง

• การใช้งานร่วมกับ Cloud-Native Development : การพัฒนา PHP Framework เช่น Laravel หรือ Symfony กำลังถูกเพิ่มฟีเจอร์เพื่อรองรับการใช้งานบนคลาวด์ เช่น การประสานงานกับ Kubernetes หรือ Docker

• AI และ Machine Learning : มีการพัฒนาไลบรารีเพื่อรองรับการทำงานด้าน AI และ Machine Learning โดยเฉพาะ

• การเชื่อมต่อกับ Blockchain : PHP กำลังถูกนำไปใช้ในการพัฒนาระบบที่รองรับ Blockchain เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลในโลกดิจิทัล

 

MySQL และ phpMyAdmin

การจัดการฐานข้อมูลใน PHP นิยมใช้ MySQL ซึ่งเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลแบบ Open Source ที่ใช้งานง่าย และรองรับข้อมูลขนาดใหญ่ ส่วน phpMyAdmin เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการ MySQL ผ่านอินเทอร์เฟซแบบกราฟิก (GUI) โดยมีข้อดีดังนี้

• การจัดการฐานข้อมูล : phpMyAdmin ช่วยให้สร้างฐานข้อมูล ตาราง และการดำเนินการ SQL ได้ง่าย โดยไม่ต้องพิมพ์คำสั่งใน CLI
• การสำรองข้อมูล : สามารถ Export และ Import ฐานข้อมูลได้สะดวก เหมาะสำหรับการโยกย้ายข้อมูลหรือสำรองข้อมูล
• การจัดการผู้ใช้ : phpMyAdmin ช่วยให้กำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานใน MySQL ได้ง่าย
• เชื่อมต่อกับ PHP :  สามารถใช้ฟังก์ชัน mysqli หรือ PDO เพื่อสื่อสารกับ MySQL ได้อย่างปลอดภัย

 

สรุป

การพัฒนา PHP ในปี 2025 ชี้ให้เห็นถึงความพร้อมในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI, Microservices และ Cloud-Native ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความง่ายในการเรียนรู้และใช้งาน จึงทำให้ PHP ยังคงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ทั่วโลก

 

 

 

 


: 5121 | Date : January 28 , 2025 | AFRA APACHE |
เพิ่มเพื่อน